การกำกับดูแลกิจการที่ดี

กวทช. มีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติหน้าที่โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (善治)เพื่อให้ สวทช. เป็นองค์กรที่มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส สามารถดำเนินงานได้บรรลุวัตถุประสงค์ และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม กวทช. จึงได้กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมทั้งเชื่อมโยงกับค่านิยมหลักของ สวทช. นอกจากนี้ยังได้กำหนดจรรยาบรรณการดำเนินงานเพื่อให้คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ ที่ปรึกษา ผู้บริหาร บุคลากร และผู้ปฏิบัติงานให้ สวทช. ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการทำงาน เพื่อสร้างความก้าวหน้าและมั่นคงอย่างยั่งยืนให้กับองค์กร นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีประกอบด้วย



นโยบาย
นโยบายต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ

กวทช. ให้การสนับสนุนเรื่องการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ พร้อมยืนยันเจตนารมณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ยอมรับการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ และให้กรรมการ อนุกรรมการ ที่ปรึกษา ผู้บริหาร บุคลากร และผู้ปฏิบัติงานให้ สวทช. ไม่กระทำหรือสนับสนุนการทุจริตและประพฤติมิชอบไม่ว่ากรณีใดๆ โดย สวทช. ได้ประกาศค่านิยมหลัก เรื่องความมีจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม โปร่งใส ไม่ทุจริต (责任与诚信)เป็นแนวทางให้บุคลากรของ สวทช. ต้องยึดถือและปฏิบัติ

ประกาศเจตนารมณ์การต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน

โดยที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีนโยบายในการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน และเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายดังกล่าว พร้อมเป็นการยืนยันเจตนารมณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ และคำสั่งที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ยอมรับการทุจริตและคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ และเพื่อให้ผู้บริหาร บุคลากร และผู้ปฏิบัติงานให้กับ สวทช. ไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการสนับสนุนการทุจริตและคอร์รัปชัน ดังนั้น สวทช. จึงขอแสดงเจตนารมณ์อย่างเปิดเผยเพื่อเป็นการเสริมสร้างวัฒนธรรมขององค์กรที่มีความโปร่งใสและสุจริต จึงประกาศเจตนารมณ์การต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน เพื่อเป็นมาตรฐานและแนวทางในการปฏิบัติงานที่ต้องยึดถือและปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

1ปฏิบัติหน้าที่และบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลและกระบวนการมาตรฐาน สามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน โดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานได้ตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ

2จัดให้มีการตรวจสอบการทำงานอย่างสม่ำเสมอตามระบบการควบคุมกำกับดูแลภายใน รวมถึงการจัดเก็บรักษาข้อมูลในการทำธุรกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกสำหรับการได้รับการตรวจสอบจากภายนอกโดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือหน่วยงานตรวจสอบอื่นใดตามกฎหมาย

三。ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรของ สวทช. ยึดมั่นในการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ และคำสั่งที่เกี่ยวข้อง และมีจิตสำนึกในการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันในการปฏิบัติงาน โดยต้องถือปฏิบัติตามนโยบายอย่างเคร่งครัด ดังนี้

3.1ไม่กระทำพฤติกรรมใด ๆ ที่เป็นการรับสินบนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องที่ตนมีหน้าที่รับผิดชอบไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมอันเป็นการให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ใด ๆ ในทางที่มิชอบด้วยกฎหมาย
3.2ไม่เป็นตัวกลางในการนำเสนอทรัพย์สิน สิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใดให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บุคลากรของ สวทช. ละเว้นในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ และคำสั่งที่เกี่ยวข้อง
3.3ไม่ละเลยหรือเพิกเฉยเมื่อพบเห็นการกระทำหรือพฤติกรรมที่เข้าข่ายการทุจริตและคอร์รัปชัน หรือส่อไปในทางทุจริตและคอร์รัปชันทั้งทางตรงหรือทางอ้อม โดยเมื่อทราบเหตุดังกล่าวหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยจะต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลที่รับผิดชอบทราบโดยทันที และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าว
3.4ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติงาน โดยปฏิบัติตามมาตรการที่เกี่ยวกับการควบคุมกำกับดูแลภายในและการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ใช้สำหรับการป้องกันการทุจริตและคอร์รัปชันอย่างเคร่งครัด
3.5บุคลากรของ สวทช. ผู้ใดที่กระทำการทุจริตและคอร์รัปชันจะต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยตามข้อบังคับและระเบียบของ สวทช. และจะถูกดำเนินคดีในการกระทำการทุจริตและคอร์รัปชันเพื่อได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้

4กำหนดให้มีผู้ทำหน้าที่รับผิดชอบในการรับเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตและคอร์รัปชัน โดยผ่านช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน ดังนี้

4.1แจ้งผ่านช่องทางร้องเรียนบนหน้าเว็บไซต์ สวทช. https://www.nstda.or.th/home网站/
4.2แจ้งผ่านช่องทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ vou@nstda.or.th
4.3แจ้งโดยตรงถึงผู้อำนวยการ สวทช.

5กำหนดให้ สวทช. และบุคลากรของ สวทช. ยึดถือปฏิบัติตามเจตนารมณ์การต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันตามประกาศนี้อย่างเคร่งครัด รวมทั้งมุ่งมั่นสร้างเสริมและรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมขององค์กรที่มีความโปร่งใสและสุจริต โดยยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต และมีวินัยต่อกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ และคำสั่ง โดยกล้ายืนหยัดในการดำรงตนและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องเพื่อรักษาไว้ซึ่งความลับและผลประโยชน์ของประเทศชาติอันเป็นการสร้างสังคมและสภาพแวดล้อมที่ปราศจากการทุจริตและคอร์รัปชันอย่างยั่งยืนต่อไป

นโยบายต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

กวทช. ให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (利益相关者)ทุกกลุ่มทั้งหน่วยงานด้านนโยบาย/จัดสรรทรัพยากร/และกำกับดูแล พันธมิตรและลูกค้า บุคลากรของ สวทช. รวมถึงกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความคาดหวังต่อ สวทช. ที่แตกต่างกันดังนี้

  1. หน่วยงานด้านนโยบาย/จัดสรรทรัพยากร/และกำกับดูแล อาทิ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี มีความคาดหวังให้ สวทช. ใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า สามารถส่งมอบผลงานที่ใช้ประโยชน์ได้จริงในวงกว้างอย่างรวดเร็ว มีความชัดเจนในการทำงาน ไม่ทำงานซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นๆ
  2. พันธมิตร (หน่วยงานที่ร่วมทำงานกับ สวทช. ในลักษณะหุ้นส่วน) และลูกค้า (ผู้ที่ประสงค์จะใช้ผลงานหรือบริการของ สวทช.) มีความคาดหวังให้ สวทช. เปิดกว้าง รับฟังความเห็นเพื่อรับโจทย์ที่เป็นความต้องการไปช่วยดำเนินการ มีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ตอบสนองรวดเร็ว และได้รับข้อมูล ข่าวสาร บริการ คำแนะนำที่เป็นประโยชน์จาก สวทช. อย่างสม่ำเสมอ และสามารถแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเท็จจริงได้
  3. บุคลากรของ สวทช. ซึ่งเป็นกำลังสำคัญขององค์กร เป็นทั้งผู้ผลิตผลงานและผู้ให้บริการแก่พันธมิตรและลูกค้า มีความคาดหวังต่อ สวทช. ในเรื่องความชัดเจนในบทบาทและหน้าที่ของตนต่อองค์กรและรายละเอียดของงานที่ได้รับมอบหมาย โอกาสในการพัฒนาศักยภาพและความสามารถ สภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีความยืดหยุ่น โอกาสความก้าวหน้าในสายอาชีพ รวมถึงการได้ทำงานในด้านที่มีความสามารถเฉพาะ
  4. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่เป็นตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ ของสังคม มีความคาดหวังจะเห็นผลงานของ สวทช. ใช้ประโยชน์ได้จริงในวงกว้าง เช่น เกิดความสะดวกในชีวิตประจำวัน ปลอดภัย รักษาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนทำให้เศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้น ทั้งนี้ กวทช. มีนโยบายตอบสนองต่อความคาดหวังดังกล่าวโดยสนับสนุนให้ สวทช. สร้างผลงานจากการวิจัยและพัฒนาที่สำเร็จและเกิดการใช้ประโยชน์จนมองเห็นได้เป็นรูปธรรม ซึ่งขึ้นกับการกำหนดคลัสเตอร์ และอุตสาหกรรมเป้าหมาย ทิศทางการวิจัย กลไกการได้รับโจทย์ปัญหาที่ตรงตามความต้องการ การคัดเลือกและใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้อง ขีดความสามารถทางเทคโนโลยีที่มีอยู่และที่จะพัฒนาต่อไปในอนาคต รวมไปถึงการทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พันธมิตรต่างๆ และกลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ ในส่วนของบุคลากรของ สวทช. กวทช. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของบุคลากร รวมทั้งการรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อใช้ปรับปรุงการบริหารและดูแลบุคลากรของ สวทช. นอกจากนี้ กวทช. ยังให้ความสำคัญและส่งเสริมการรักษาข้อมูลที่เป็นความลับของลูกค้าอย่างจริงจัง รวมทั้งการไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ส่งเสริมให้ สวทช. มุ่งมั่นในการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า สร้างผลงานและ ให้บริการที่มีคุณภาพและตรงกับความต้องการ โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและปลอดภัย โดยมีนโยบายคุณภาพ สวทช. เป็นแนวทางให้บุคลากรทุกคนใช้ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน ISO 9001:2008标准
นโยบายการบริหารจัดการองค์กร

กวทช. มีความรับผิดชอบในการกำกับดูแลให้มีระบบบริหารจัดการองค์กรที่สำคัญ ได้แก่ การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน การตรวจสอบภายใน การบริหารจัดการสารสนเทศ และการบริหารทรัพยากรบุคคล สร้างความมั่นใจในความเพียงพอ และประสิทธิภาพของระบบต่างๆ ดังกล่าว ตลอดจนติดตามผลการดำเนินงานของ สวทช. เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

การบริหารความเสี่ยง
กวทช. ให้ความสำคัญต่อการกำกับดูแลที่ดี และเห็นว่าระบบบริหารความเสี่ยงองค์กร (企业风险管理)ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะช่วยลดความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของ สวทช. จึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อกำกับดูแลการบริหารจัดการความเสี่ยงของ สวทช. ให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนด (อ้างถึง ประกาศสวทช. เรื่อง นโยบายบริหารจัดการความเสี่ยงของสวทช. (วันที่ 31 ตุลาคม 2554)) รวมทั้งจัดให้ สวทช. มีระบบบริหารความเสี่ยงที่สอดคล้องกับกรอบการบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐาน ISO 31000:2009标准

สวทช. มีการจัดตั้งคณะกรรมการจัดการความเสี่ยงที่มีผู้อำนวยการเป็นประธาน เป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง จัดการให้ความเสี่ยงต่างๆ อยู่ในวิสัย และขอบเขตที่พึงประสงค์ โดยจัดให้มีการประเมินและทบทวนความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ ประมวลวิเคราะห์ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน และจัดทำรายงานการติดตามประเมินผลการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งส่งเสริม สื่อสาร พัฒนาความรู้ความเข้าใจในเรื่องการบริหารความเสี่ยงให้กับบุคลากรทุกระดับ
สวทช. ได้นำ 蝴蝶结示意图(แผนภาพแสดงความเชื่อมโยงองค์ประกอบสำคัญในการบริหารความเสี่ยง ซึ่ง 加拿大科学与工业研究组织ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการความเสี่ยงองค์กร) มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์สาเหตุ ผล กระทบ พิจารณาทางเลือกในการควบคุมหรือลดความเสี่ยง รวมถึงใช้ในการประชุม รายงานผล ปรึกษาหารือ สื่อสารร่วมกับคณะกรรมการจัดการความเสี่ยง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ด้วย

นอกจากนี้ สวทช. ได้จัดทำคู่มือการบริหารความเสี่ยง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหาร และบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงได้ใช้เป็นแนวปฏิบัติให้มีความสอดคล้องกันทั่วทั้งองค์กร

การควบคุมภายใน
ระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินงานตามภารกิจของ สวทช. ให้บรรลุเป้าหมาย กวทช. จึงกำหนดให้ สวทช. ต้องจัดระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอและเหมาะสม แต่ยังคงรักษาความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน สนับสนุนให้ สวทช. มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี โดยให้มีการกำหนดนโยบาย การวางแผน การดำเนินการ การควบคุม การติดตาม/ประเมินผล และรายงานเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายในอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการปรับปรุงแก้ไขให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ และสอดคล้องกับการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้บุคลากรทุกระดับตระหนักถึงความสำคัญ และเล็งเห็นถึงประโยชน์ของการควบคุมภายใน

ระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพจะทำให้การบริหารทรัพยากรและทรัพย์สินของ สวทช. มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รายงานทางการเงินและการดำเนินงานที่มิใช่การเงินมีความถูกต้อง เชื่อถือได้และสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจได้ทันเวลา และทำให้การดำเนินงานและการปฏิบัติงานเป็นไปตามนโยบาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับฯ ที่เกี่ยวข้อง

สวทช. มีการจัดทำคู่มืออำนาจดำเนินการ (授权手册)ในระดับบริหารและระดับปฏิบัติการอย่างชัดเจนที่ครอบคลุมถึงการควบคุมทางการเงิน การบริหารทรัพยากรบุคคล นโยบายและแผนงบประมาณ รวมถึงการกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง มีระบบการป้องกันควบคุมทรัพย์สิน รวมทั้งข้อมูลในระบบสารสนเทศอย่างปลอดภัยและเหมาะสม จัดให้มีระบบรับข้อเสนอแนะจากลูกค้าภายนอก และข้อเสนอแนะของบุคลากรจากโครงการ 你的声音การจัดทำคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงานในระบบงานที่สำคัญให้เป็นไปตามมาตรฐาน ISO 9001标准รวมถึงการจัดทำระบบการประเมินการควบคุมภายในด้วยตนเอง (控制自我评估)เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีความรับผิดชอบในการประเมินความเสี่ยง และพัฒนาระบบการควบคุมภายในด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้ระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงขององค์กรมีประสิทธิผล

นอกจากนี้ สวทช. ได้นำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการกระบวนการทำงานที่สำคัญเพื่อให้ระบบการควบคุมภายในมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ได้แก่ การบริหารจัดการโครงการ การบริหารงบประมาณ การเงินและบัญชี พัสดุ งานขายและการบริการ การบริหารทรัพยากรบุคคล การประเมินผลงานวิชาการ โดยระบบสารสนเทศดังกล่าวมีการกำหนดสิทธิการเข้าใช้งานและมีกระบวนการอนุมัติ (工作流)ตามลำดับชั้นหรือตามวงเงิน รวมทั้งจัดให้มีการตรวจสอบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าว (IT审计)ทั้งด้านการควบคุมระบบงาน (应用程序控件)และการควบคุมทั่วไป (IT一般控制)ตามแผนของสำนักตรวจสอบภายใน

คณะกรรมการจัดการ (ซึ่งมีผู้อำนวยการเป็นประธาน) ทำหน้าที่บริหารจัดการให้ระบบควบคุมภายในมีประสิทธิภาพ และติดตามการรายงานเกี่ยวกับการควบคุมภายในของระบบงานที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน โดยมีคณะอนุกรรมการตรวจสอบเป็นผู้สอบทานการประเมินประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายใน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า สวทช. มีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอเหมาะสม และมีประสิทธิผล

การตรวจสอบภายใน
กวทช. ให้ความสำคัญและสนับสนุนให้ สวทช. มีการดำเนินงานตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี จึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบเพื่อช่วย กวทช. ในการกำกับดูแล และจัดตั้งสำนักตรวจสอบภายใน (ภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการตรวจสอบ โดยรายงานต่อคณะอนุกรรมการตรวจสอบในด้านงานตรวจสอบภายใน และรายงานต่อผู้อำนวยการในด้านข้อเสนอแนะจากผลการตรวจสอบ และด้านการบริหารหน่วยงาน) เพื่อให้เป็นกลไกการตรวจสอบที่สามารถดำเนินการสนับสนุนภารกิจของ สวทช. ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และแผนกลยุทธ์ขององค์กร รวมทั้งช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ กวทช. และฝ่ายบริหารว่า ระบบการควบคุมภายในที่ สวทช. กำหนดขึ้นมีความเพียงพอและเหมาะสม สามารถช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้นอกจากนี้ กวทช. ยังส่งเสริมให้ฝ่ายบริหารและบุคลากรตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจสอบภายในในด้านการสร้างคุณค่าและผลประโยชน์แก่องค์กร

สำนักตรวจสอบภายในทำหน้าที่สอบทานและประเมินประสิทธิผลของระบบบริหารความเสี่ยง ระบบการควบคุมภายใน และการกำกับดูแลกิจการของ สวทช. ตามแผนการตรวจสอบประจำปี ซึ่งได้พิจารณาจากวัตถุประสงค์ พันธกิจ แผนกลยุทธ์ และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องในระดับภาพรวม (基于风险的审计方法)รวมถึงจุดควบคุมที่สำคัญ (关键控制点)และความคิดเห็นเพิ่มเติมของฝ่ายบริหาร โดยแผนการตรวจสอบจะต้องได้รับการพิจารณาอนุมัติจากคณะอนุกรรมการตรวจสอบ การปฏิบัติงานของสำนักตรวจสอบภายในยึดถือกฎบัตรสำนักตรวจสอบภายในที่มีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ รวมทั้งสอดคล้องตามกรอบโครงสร้างการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายในระดับสากล (国际专业实践框架:计生联)และตามแนวทางของ COSO公司

รายงานผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงาน

กฎบัตรการตรวจสอบภายใน สวทช.

กฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ สวทช.

 

การบริหารจัดการสารสนเทศ
กวทช. ให้ความสำคัญกับธรรมาภิบาลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT治理)ซึ่งเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการที่ดีทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องมีการควบคุมการจัดการและการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)เพื่อให้บรรลุกลยุทธ์และเป้าหมายขององค์กร โดยมอบให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (信息通信技术)ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ สวทช. รวมทั้งบริหารจัดการ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนแม่บท 信息通信技术และสถาปัตยกรรมองค์กร (企业架构)ที่ออกแบบไว้ โดยมีกลไกการอนุมัติโครงการและจัดสรรทรัพยากร 信息通信技术อย่างสอดคล้องและเหมาะสม

นอกจากนี้ สวทช. ได้จัดให้มีนโยบายและแนวปฏิบัติด้านระบบสารสนเทศของ สวทช. และแผนเตรียมความพร้อมกรณีฉุกเฉินด้าน 信息通信技术รวมทั้งมีการบริหารจัดการความเสี่ยงด้าน 信息通信技术และการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ประกาศที่เกี่ยวข้อง (合规性)เพื่อให้บริการที่มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานระบบสารสนเทศ และลดความเสี่ยงทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาของเทคโนโลยีที่รวดเร็ว (อ้างถึง ระเบียบ สวทช. เรื่อง นโยบายและแนวปฏิบัติด้านระบบสารสนเทศของสวทช. (วัน ที่ 17กรกฎาคม พ.ศ. 2556))

การบริหารทรัพยากรบุคคล
กวทช. สนับสนุนให้ สวทช. ใช้หลัก基于能力的管理ในการบริหารทรัพยากรบุคคล ดังนี้

  • 基于能力的管理ใช้เป็นหลักในการสรรหาคัดเลือก การพัฒนาบุคลากร และวางแผนความก้าวหน้าทางอาชีพ
  • 基于绩效的管理ใช้เป็นหลักในการบริหารผลการปฏิบัติงาน

หลักการทั้งสองถูกเชื่อมโยงสู่การปฏิบัติจริงอย่างมีประสิทธิผลโดยใช้ 个人行动和发展计划(IADP)เป็นเครื่องมือในการกำหนดแผนงานรายบุคคลและระดับคุณภาพผลงานเพื่อนำไปสู่การบริหารและประเมินผลการปฏิบัติงาน ประกอบด้วยการกำหนดแผนงานรายบุคคล (个人行动计划:IAP)และการกำหนดแผนพัฒนารายบุคคล (个人发展计划:IDP)เพื่อให้บุคลากรวางแผนและส่งเสริมการพัฒนาตนเองไปสู่การเพิ่มผลการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ สวทช. ยังให้ความสำคัญกับค่านิยมหลัก ๕ ประการที่บุคลากรของ สวทช. ต้องยึดถือและปฏิบัติ โดยกำหนดให้ผู้บังคับบัญชาต้องประเมินพฤติกรรมที่สะท้อนค่านิยมหลักดังกล่าวของผู้ใต้บังคับบัญชาทุกปี และมีน้ำหนักความสำคัญร้อยละ 30ของการประเมินผลการปฏิบัติงานตาม IAP公司

สวทช. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพและความสามารถของบุคลากรในองค์กรทุกระดับตลอดช่วงการทำงาน เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีขีดความสามารถตามลักษณะงานที่ถือครองอยู่ รวมถึงมีศักยภาพรองรับการเติบโตในสายอาชีพในอนาคต โดยเริ่มจากการสร้างความรู้พื้นฐาน และความเข้าใจเกี่ยวกับองค์กรให้กับบุคลากรเริ่มงานใหม่ผ่านโครงการปฐมนิเทศ การเชื่อมโยงข้อมูลผลประเมินขีดความสามารถ (职能能力差距)เข้ากับการพัฒนาความสามารถของบุคลากร และการกำหนดแผนการพัฒนาบุคลากรของ สวทช. เพื่อให้มี 能力ที่เหมาะสมกับตำแหน่งตามที่องค์กรกำหนด ด้วยวิธีการพัฒนาในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการพัฒนาบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ระดับบังคับบัญชาและผู้บริหารระดับต้น ระดับกลางอย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ของบุคลากรวิจัยผ่านกระบวนการฝึกอบรมสัมมนา การเข้าร่วมประชุมวิชาการ การนำเสนอผลงาน การศึกษาดูงาน การปฏิบัติงานวิจัยทั้งภายในและภายนอก รวมถึงการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น นอกจากนี้ สวทช. ให้ความสำคัญกับการสร้างความผูกพันของบุคลากรต่อองค์กร (员工敬业度)โดยมีการสำรวจข้อมูลความผูกพันของพนักงานทั่วทั้งองค์กร เพื่อหาสาเหตุปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพัน ความสอดคล้องกันระหว่างความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้องค์กรประสบความสำเร็จ และความพึงพอใจกับงานที่ท้าท้าย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงกลไกการบริหารและดูแลบุคลากรของ สวทช. อย่างต่อเนื่องภายใต้ข้อบังคับที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล

การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน
กวทช. กำหนดให้ฝ่ายบริหารต้องกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานประจำปี โดยมีทิศทางเพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในแผนกลยุทธ์ของ สวทช. ทั้งนี้มีการนำเครื่องมือ 平衡计分卡(BSC)มาใช้เป็นแนวทางในการแปลงวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์องค์กรไปสู่ชุดของตัวชี้วัดผลสําเร็จ (BSC KPI)ซึ่งประกอบด้วยตัวชี้วัดตามมุมมองทั้ง 4ด้าน ได้แก่ มุมมองผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มุมมองลูกค้า พันธมิตร และการเงิน มุมมองกระบวนการภายใน และมุมมองความสามารถขององค์กร ทั้งนี้ BSC关键绩效指标จะเป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของผู้บริหารสูงสุดของ สวทช. ใน 2ระดับบนเท่านั้น ได้แก่ ผู้อำนวยการ สวทช. รองผู้อำนวยการ สวทช. รวมถึงผู้อำนวยการศูนย์แห่งชาติ ในขณะที่ระดับอื่นๆ ที่เหลือจะเป็นการกำหนดตัวชี้วัดโดยใช้ IADP公司

นอกจากนี้ กวทช. ยังกำหนดให้ฝ่ายบริหารต้องรายงานผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริงเปรียบเทียบกับเป้าหมายให้ กวทช. ทราบอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะๆ รวมทั้งการรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานในด้านต่างๆ และรายงานทางการเงิน เพื่อให้ กวทช. รับทราบผลการดำเนินงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ และให้ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการดำเนินงานของ สวทช.

นโยบายคุณภาพ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลงานอย่างต่อเนื่อง โดยนำผลงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมถึงตอบสนองความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนอย่างสมดุลด้วยบุคลากรที่มีคุณภาพ และการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยมุ่งเน้นคุณลักษณะของผลงานที่มีคุณภาพดังนี้

  1. ความถูกต้อง ความครบถ้วน
  2. ความรวดเร็ว และความตรงต่อเวลา
  3. ความเป็นเลิศ
  4. ความสอดคล้องต่อกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
  5. ความถูกต้องตามหลักจริยธรรม โปร่งใสตรวจสอบได้
  6. ความเชื่อมโยงในองค์รวม

ทั้งนี้ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ

นโยบายด้านความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และพลังงาน

กวทช. ให้ความสําคัญกับความปลอดภัยในการทํางานของบุคลากรของ สวทช. และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยสนับสนุนให้ สวทช. นําระบบการจัดการความปลอดภัยตามมาตรฐาน มอก. 18001มาใช้บริหารความปลอดภัยในทุกกิจกรรมและทุกพื้นที่ปฏิบัติงาน ตลอดจนปรับปรุงและพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง สวทช. ได้รับใบรับรองระบบการจัดการความปลอดภัยจากสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) ว่า เป็นหน่วยงานที่มีการจัดการความปลอดภัยที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามมาตรฐาน มอก.18001:2554英国职业健康安全标准18001:2007

ในด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมโดยรอบ กวทช. ให้ความสำคัญต่อการป้องกันและควบคุมการปนเปื้อนของมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม และให้มีการจัดการมลพิษทั้งหมดตามข้อกำหนดของกฎหมายและมาตรฐานสากล จึงส่งเสริมให้ สวทช. วางรากฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบโดยตรงของผู้บริหารและบุคลากรทุกคนที่ต้องปฏิบัติ (อ้างถึง ประกาศ สวทช. เรื่อง นโยบายอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม (วันที่ 17 พฤศจิกายน 2557))

กวทช. ส่งเสริมให้ สวทช. นำระบบการจัดการพลังงานมาใช้เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาล นอกจากนี้ยังช่วยลดผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก รวมทั้งเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน สวทช. จึงประกาศนโยบายการอนุรักษ์พลังงาน (อ้างถึง ประกาศ สวทช. เรื่อง นโยบายการอนุรักษ์พลังงาน (วันที่ 17 มีนาคม 2554)) เพื่อให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานจัดการพลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยให้ถือเป็นหน้าที่ในการปฏิบัติงาน

นอกจากนี้ สวทช. ยังเป็นหน่วยงานที่จัดทำคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กร (组织的碳足迹)อย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อมุ่งเน้นกระบวนการลดกิจกรรมปล่อยก๊าชเรือนกระจก และสร้างความตระหนักของผลกระทบทางด้านพลังงานที่ส่งผลต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้กับบุคลากรของ สวทช.

นโยบายการเปิดเผยข้อมูล

กวทช. มีนโยบายการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และสม่ำเสมอตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดให้ สวทช. เปิดเผยรายงานผลการดำเนินงาน รายงานทางการเงิน และรายงานของคณะอนุกรรมการตรวจสอบไว้ในรายงานประจำปีของ สวทช. นอกจากนี้ สวทช. ยังกำหนดให้ผู้บริหารที่รับผิดชอบทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานของ สวทช. ผ่านสื่อต่างๆ และบนเว็บไซต์ของ สวทช. เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบข้อมูลอย่างทั่วถึง

นโยบายการรักษาความลับ

สวทช. เป็นหน่วยงานของรัฐที่ดำเนินงานตามพันธกิจวิจัย พัฒนา ออกแบบและวิศวกรรม ถ่ายทอดเทคโนโลยี พัฒนากำลังคนและโครงสร้างพื้นฐาน และมีระบบบริหารจัดการภายในที่สนับสนุนการดำเนินงานทุกส่วน มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลการใช้งานของข้อมูลที่เกี่ยวข้องหลากหลายประเภท จึงตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการดำเนินการอย่างเหมาะสมเกี่ยวกับข้อมูลที่ สวทช. จัดทำขึ้น และ/หรือข้อมูลที่ สวทช. ได้รับมาที่ประสงค์ให้เก็บเป็นความลับหรือมีภาระผูกพันให้เก็บเป็นความลับ

เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544ที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่รักษาข้อมูลข่าวสารลับของหน่วยงาน ประกอบกับข้อบังคับ กวทช. ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ.2551ที่กำหนดให้พนักงานและพนักงานโครงการมีหน้าที่รักษาความลับ สวทช. จึงได้ประกาศนโยบายการรักษาความลับ และแนวปฏิบัติในการรักษาความลับ (อ้างถึง ประกาศ สวทช. เรื่อง นโยบายการรักษาความลับ (วันที่ 9 มกราคม 2556) และ ประกาศ สวทช. เรื่อง แนวปฏิบัติในการรักษาความลับ (วันที่ 9 มกราคม 2556))

นโยบายการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์

นโยบายการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์

กวทช. ให้ความสำคัญเรื่องความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยจะไม่ให้กรรมการ อนุกรรมการ ที่ปรึกษา ผู้บริหาร บุคลากร และผู้ปฏิบัติงานให้ สวทช. ใช้ตำแหน่งหน้าที่ในการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน โดยในจรรยาบรรณการดำเนินงานของ สวทช. ได้กำหนดแนวทางในการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ส่วนตนต่อผลประโยชน์ของ สวทช. เพื่อให้กรรมการ อนุกรรมการ ที่ปรึกษา ผู้บริหาร บุคลากรทุกระดับและผู้ปฏิบัติงานให้ สวทช. ถือปฏิบัติ (ดูรายละเอียดในจรรยาบรรณของกรรมการและอนุกรรมการ ข้อ 5.1 (2) และระเบียบ สวทช. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของพนักงานและพนักงานโครงการ พ.ศ. 2557 ข้อ 15 )

นโยบายการรับของขวัญและของกำนัล

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานภาครัฐที่ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติหน้าที่อย่างโปร่งใส ซื่อสัตย์ สุจริต ตามหลักธรรมาภิบาล ยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก เพื่อเป็นการสนับสนุน สร้างวัฒนธรรม ค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมสุจริตของบุคลากร ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติทุกระดับในการปฏิบัติงาน รวมทั้งหลีกเลี่ยงการกระทำอันมีผลต่อการใช้ดุลพินิจหรือการตัดสินใจในการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งอาจนำไปสู่การเลือกปฏิบัติหรือเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนนั้น

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติจึงมีนโยบายไม่รับ ของขวัญหรือของกำนัล (无礼品政策)เพื่อรณรงค์ให้บุคลากรของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ทุกระดับไม่รับ ของขวัญหรือของกำนัลจากการปฏิบัติหน้าที่ในทุกเทศกาลหรือโอกาสอื่นใด

เอกสารนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบและรายงานผลการดำเนินการ

2567

2566

2565

2564

2563

2562

2561

แผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมและรายงานผลการดำเนินการ

2566

2565

2564

2563

2562

2561

นโยบายความเสี่ยง

นโยบาย การบริหารจัดการความเสี่ยง (ประกาศ ณ วันที่ 8กันยายน 2563) 

การประเมินความเสี่ยง

2567

2566

2565

2564

2563

2562

คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี
คู่มือประมวลจริยธรรมของพนักงานและพนักงานโครงการ
จรรยาบรรณการดำเนินงานของ สวทช.

เพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี กวทช. ได้กำหนดให้มีจรรยาบรรณการดำเนินงานของ สวทช. เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการประพฤติปฏิบัติสำหรับกรรมการ อนุกรรมการ ที่ปรึกษา ผู้บริหาร บุคลากร และผู้ปฏิบัติงานให้ สวทช. ตลอดจนส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามจรรยาบรรณดังกล่าว เพื่อให้การดำเนินงานมีความโปร่งใส มีคุณธรรม และมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม อันจะก่อให้เกิดความยั่งยืนแก่ สวทช. เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติในระยะยาว

จรรยาบรรณของกรรมการ และอนุกรรมการ

กวทช. มุ่งหวังให้กรรมการ และอนุกรรมการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานทางจริยธรรมที่สูงสุด และต้องปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศ สวทช. และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มที่ได้มอบความไว้วางใจให้กับ กวทช. (受托责任)โดยจัดให้มีจรรยาบรรณของกรรมการ และอนุกรรมการ ไว้ดังนี้

1ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ มติของคณะรัฐมนตรี รวมทั้งการกำกับดูแลกิจการที่ดี
2ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต หลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ส่วนตนต่อผลประโยชน์ของ สวทช. เพื่อให้การบริหารงานมีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ โดยรวมถึง
  • ไม่นำข้อมูลที่ได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ไปใช้แสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ
  • ไม่ใช้ความลับของ สวทช. ในทางที่ผิด และไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับของ สวทช. แม้พ้นสภาพหรือสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ที่ สวทช. ไปแล้ว
  • ไม่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากการเป็นกรรมการ/อนุกรรมการ
  • ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องที่กำลังพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ
  • ไม่มีผลประโยชน์หรือส่วนได้ส่วนเสียจากการทำสัญญาของ สวทช.
  • ไม่รับสิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใดอันเป็นการขัดต่อผลประโยชน์ของ สวทช. เพื่อประโยชน์ส่วนตนและครอบครัว

三。ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ และพร้อมที่จะแสดงความเห็นของตนอย่างอิสระ เพื่อผลประโยชน์ของประเทศ สวทช. ผู้บริหาร และพนักงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมถึงการเข้าประชุมทุกครั้งยกเว้นกรณีที่มีเหตุจำเป็น
4ใช้ความระมัดระวังและรอบคอบในการปฏิบัติหน้าที่ โดยการตัดสินใจใดๆ ของกรรมการ/อนุกรรมการได้ทำโดยสมเหตุสมผล และมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือและเพียงพอ

จรรยาบรรณของผู้บริหาร

ผู้บริหารของ สวทช. เป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจและได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่บริหารงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของ สวทช. จึงควรต้องถือปฏิบัติตามจรรยาบรรณของผู้บริหารดังนี้

  1. บริหารงานตามนโยบายและเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมถึงการกำกับดูแลการดำเนินงาน การรายงานผลการดำเนินงาน และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
  2. เป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างที่ดีตามค่านิยมหลักของ สวทช. รวมทั้งส่งเสริมให้พนักงาน และพนักงานโครงการยึดมั่นในค่านิยมหลัก และจรรยาบรรณที่ สวทช. ใช้ในการดำเนินงาน รวมถึงติดตามให้มีการปฏิบัติอย่างจริงจัง
  3. สร้างเสริมความมั่นใจในการทำงานให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในด้านผลตอบแทนที่เป็นธรรม การแต่งตั้งโยกย้าย การให้รางวัลและการลงโทษที่เป็นธรรมโดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ วุฒิภาวะ ตลอดจนความเหมาะสมที่เกี่ยวข้องของพนักงานและพนักงานโครงการ ตลอดจนดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของพนักงานและพนักงานโครงการ
  4. ไม่แสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเองและผู้อื่นทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งไม่ดำเนินการใดๆ ในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ต่อองค์กร
  5. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง กล้าเปลี่ยนแปลงและกล้าตัดสินใจบนพื้นฐานของประโยชน์ขององค์กร ส่วนรวม และประเทศชาติ
  6. ยึดถือประมวลจริยธรรมของพนักงานและพนักงานโครงการของ สวทช. เป็นแนวปฏิบัติในการบริหารงาน
จรรยาบรรณและจริยธรรมของพนักงานและพนักงานโครงการ

สวทช. ได้กำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมสำหรับพนักงานและพนักงานโครงการขึ้นเป็นประมวลจริยธรรมเพื่อให้บุคลากรทุกคนยึดถือเป็นแนวทางในการประพฤติตนและปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความโปร่งใส และไม่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ (อ้างถึง ระเบียบ สวทช. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของพนักงานและพนักงานโครงการ พ.ศ. 2557)

สำหรับบุคลากรวิจัยของ สวทช. (นักวิจัยรวมถึงผู้ช่วยวิจัย) ต้องยึดถือจรรยาบรรณนักวิจัยที่กำหนดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (อ้างถึง จรรยาบรรณนักวิจัย โดยสำ นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วันที่ 21 เมษายน 2541)) เป็นแนวทางในการดำเนินงานวิจัยที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรมและหลักวิชาการที่เหมาะสม นอกเหนือจากการประพฤติปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมของพนักงานและพนักงานโครงการ

จรรยาบรรณของที่ปรึกษาและผู้ปฏิบัติงานให้ สวทช.

ที่ปรึกษาที่ว่าจ้างโดยข้อกำหนดของงาน (职权范围:TOR)และผู้ปฏิบัติงานให้ สวทช. (ได้แก่ คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานชุดต่างๆ ที่ผู้อำนวยการ สวทช. หรือผู้อำนวยการศูนย์แห่งชาติเป็นผู้แต่งตั้ง รวมถึงบุคลากรวิจัยที่มิใช่พนักงาน (非合作研究者:NCR)ตามที่ระบุในระเบียบ สวทช. ว่าด้วยเงินสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานชาวต่างประเทศและชาวไทย) ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ สวทช. และระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มความสามารถเพื่อผลประโยชน์ของ สวทช. และประเทศ รวมถึงต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ส่วนตนต่อผลประโยชน์ของ สวทช.

จรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์

การใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์และสาธารณสุข ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และสัตว์ สวทช. จึงได้กำหนดแนวนโยบายจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อคุ้มครองชีวิตและสวัสดิภาพของสัตว์ระหว่างการวิจัย และปฏิบัติให้สอดคล้องกับหลักจรรยาบรรณและเป็นไปตามมาตรฐานสากลดังนี้

  1. สวทช. ต้องดูแลเรื่องจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ในการดำเนินงานวิจัยของหน่วยงานและในงานวิจัยของภาคธุรกิจในพื้นที่ดูแลรับผิดชอบของ สวทช. โดยจัดให้มีแนวปฏิบัติและคู่มือสำหรับนักวิจัยทางด้านจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการสร้างความเข้าใจและความตระหนักในเรื่องจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ต่อบุคลากรของ สวทช. และผู้ที่เกี่ยวข้อง
  2. โครงการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ที่ดำเนินการโดยนักวิจัยของ สวทช. และนักวิจัยภายนอกที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สวทช. รวมทั้งโครงการวิจัยใดๆ ที่เป็นการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ซึ่งดำเนินการอยู่ภายในพื้นที่ดูแลรับผิดชอบของ สวทช. จะต้องผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการกำกับดูแลการเลี้ยงและใช้สัตว์ของ สวทช.
  3. โครงการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อย และจรรยาบรรณหรือจริยธรรมแห่งวิชาชีพ อีกทั้งต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและสวัสดิภาพของสัตว์ระหว่างการดำเนินการวิจัยให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ตามมาตรฐานสากล
สถิติร้องเรียน
.
.
ร้องเรียนเรื่องทั่วไป

ร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตของเจ้าหน้าที่

ขั้นตอนการจัดการข้อร้องเรียน
.
ขั้นตอนการจัดการข้อร้องเรียนทั่วไป

ขั้นตอนการจัดการข้อร้องเรียนทุจริตและประพฤติมิชอบ

คู่มือการปฏิบัติงานในการจัดการข้อร้องเรียน